พระเจ้าตากสินมหาราช (ครองราชย์ระหว่าง 28 ธันวาคม พ.ศ.2310 - 6 เมษายน พ.ศ.2325)
ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ.2310 นั้นพม่าได้ยกทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2308 พระยาตากซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากอยู่ถูกเรียกเข้ามาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา ในเดือนมกราคม พ.ศ.2310 พระยาตากได้นำทหารราว 1,000 คน แต่พม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาไปรวบรวมผู้คนไว้สู้พม่าที่เมืองจันทบูรณ์ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็ถูกพม่าตีแตกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 พระยาตากได้รวบรวมผู้คนอยู่จนถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นก็ยกทัพกลับมาตีทัพพม่าที่ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายโพธิสามต้นอยุธยา และตีค่ายพม่าแตกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 พม่าถูกฆ่าตายเป็นอันมากที่รอดตายก็แตกพ่ายหนีกลับพม่าไป พระยาตากจึงได้กลายเป็นผู้นำคนสำคัญของประเทศในขณะนั้น เพราะพระเจ้าเอกทัศน์สิ้นพระชนม์แล้ว ส่วนพระเจ้าอุทุมพร อนุชาก็ถูพม่าจับตัวไป
เมื่อเอาชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว ก็ได้เลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงใหม่แต่ในช่วงปี พ.ศ.2311 - 2313 นั้น พระเจ้าตากก็ต้องใช้เวลาปราบชุมนุมคนไทยอีก 4 กลุ่ม ซึ่งซ่องสุมผู้คนตั้งตัวเป็นใหญ่ในแผ่นดินคือ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมพระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช โดยปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมสุดท้ายในปี พ.ศ.2313 พระเจ้าตากเป็นคนดีมีฝีมือของกรุงศรีอยุธยาคนหนึ่ง สมดังคำพังเพยที่ว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี” สู้กับพม่าแล้วก็ต้องมาสู้กับคนไทยเอง (คือผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่อีก 4 ชุมนุมต้องบูรณะบ้านเมืองที่เสียหาย ราษฎรยากจนโจรผู้ร้ายชุกชุมและยังต้องคอยสู้รบกับพม่าที่ยกทัพมาตีเมืองไทยอีกหลายครั้ง นอกจากเป็นฝ่ายรับในการรบแล้ว พระเจ้าตากยังส่งทัพไปรบยังที่อื่นๆ อีกเพื่อผลประโยชน์ของไทยเป็นการยกทัพไปรบที่เชียงใหม่ (พ.ศ.2317 และ 2319) ที่จัมปาศักดิ์ (พ.ศ.2321) และที่เขมร (พ.ศ.2312 และ 2323)
ในปี พ.ศ. 2325 ไทยยกทัพไปรบที่เขมร แม่ทัพคือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขณะที่ทัพสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกรบอยู่ที่เขมรนั้น ทางกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล ขุนนางชื่อพระยาสรรค์ได้ก่อกบฎจับพระเจ้าตากไว้แล้วให้ทรงผนวชเสีย เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกรู้เรื่องการจลาจลก็ยกทัพกลับ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น ตอนปลายรัชกาลของพระเจ้าตากสินพระองค์สติฟั่นเฟือนและลงพระอาญาแก่คนจำนวนมาก รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่โดยไม่ชอบด้วยเหตุผล ขุนนางทั้งหลายจึงอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองแผ่นดินและในการครั้งนี้ได้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินด้วย (พระชนม์ได้ 48 พรรษา) นอกจากพระเจ้าตากแล้วก็มีเชื้อพระวงศ์ที่ถูกสำเร็จโทษด้วยคือ โอรสพระเจ้าตาก คือ กรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) ขณะถูกประหารพระชันษา 21 พรรษา และพระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศร์ นอกจากนั้นก็มีขุนนางอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ประสงค์รับราชการเป็น “ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย” ถูกประหารชีวิตอีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งพระยาพิชัยที่รู้จักกันในนามพระยาพิชัยดาบหัก
ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี
เนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้เสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ประเทศชาติแตกแยกกันเป็นก๊ก เป็นเหล่ายังรวมกันไม่ติด และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำนุบำรุงให้คงสภาพเดิมได้อีกทั้งข้าศึกศัตรูก็รู้ลู่ทางดีและเมื่อถึงคราวน้ำหลาก ปัญหาต่างๆ ก็ตามมามาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีและตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ท่านทรงต้องทำศึกสงครามเพื่อรวบรวมประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่นและทำการกอบกู้เอกราชมาโดยตลอด ดังนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี พระองค์จึงไม่ได้ทรงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างไร ดังนั้นในสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีนั้น เราอาจกล่าวได้ว่ายังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ นั่นคือพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทั้งหมดเพียงพระองค์เดียว ได้แก่ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หรืออาจกล่าวง่ายๆ คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวเพื่อทรงรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นให้คงความเป็นไทยอยู่จนทุกวันนี้
เนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้เสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ประเทศชาติแตกแยกกันเป็นก๊ก เป็นเหล่ายังรวมกันไม่ติด และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำนุบำรุงให้คงสภาพเดิมได้อีกทั้งข้าศึกศัตรูก็รู้ลู่ทางดีและเมื่อถึงคราวน้ำหลาก ปัญหาต่างๆ ก็ตามมามาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีและตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ท่านทรงต้องทำศึกสงครามเพื่อรวบรวมประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่นและทำการกอบกู้เอกราชมาโดยตลอด ดังนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี พระองค์จึงไม่ได้ทรงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างไร ดังนั้นในสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีนั้น เราอาจกล่าวได้ว่ายังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ นั่นคือพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทั้งหมดเพียงพระองค์เดียว ได้แก่ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หรืออาจกล่าวง่ายๆ คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวเพื่อทรงรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นให้คงความเป็นไทยอยู่จนทุกวันนี้
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=279484
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น