วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองก็คือว่า การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกาหรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี ตรงกันข้ามมักเกิดการแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่าง กันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ
ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติ
ปฏิวัติ หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ
รัฐประหาร หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก ในประเทศไทยถือได้ว่ามีการปฎิวัติ เกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการ กบฏ เกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 8 ครั้ง ดังนี้
ปฎิวัติ 1 ครั้ง (4 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร)
กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฎ ร.ศ.130
2.กบฎบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)
3.กบฎนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)
5.กบฎเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (พย. 2491)
7.กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)
8.กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)
9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)
10.กบฎ 26 มีนาคม 2520
11.กบฎยังเตอร์ก (1-3 เมษายน 2524)
12.กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)
รัฐประหาร 8 ครั้ง
1.พ.อ. พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิ.ย. 2476)
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พ.ย. 2490)
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พ.ย. 2494)
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)
6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)
7.พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)
8.พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)
9.คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทำการรัฐประหาร (19 กันยายน 2549)

ที่มา www.mh.ac.th.mht


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น