วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศาลยุติธรรมไทย

ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ประเทศไทยได้ประสบวิกฤตการณ์ทางการศาลทั้งภายในและนอกประเทศ ในด้านต่างประเทศชาวต่างประเทศมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้ไทยเสียเปรียบทางการศาลด้านภายในประเทศเจ้านายและข้าราชการ ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะเกี่ยวกับความยุติธรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้ปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลขึ้น และ ในปี ร.ศ.110 (พ.ศ.2434) รัฐบาลไทยได้ออกประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นประกาศ ลงวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ.110 ต่อมาในปี ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) ได้มีประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ.127 เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงราชการ กระทรวงยุติธรรม และศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นให้มีเสนาบดีเป็นประธาน ในเวลาต่อมาได้มีประกาศการจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมลง วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2455 แยกหน้าที่ ราชการ กระทรวงยุติธรรมเป็นฝ่ายธุรการและ ตุลาการแต่ประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2455 นี้ได้ถูกยกเลิก โดยประกาศการจัดระเบียบบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายธุรการและตุลาการ ที่นอกจากการพิจารณา และพิพากษาคดีในศาลซึ่งเป็นอำนาจอิสระของผู้พิพากษา ต่อมาได้มีประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับ พ.ศ.2477 ซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีเป็นรัฐมนตีว่าการกระทรวงและมีการจัดระเบียบการแบ่งส่วนราชการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
มีศาลสังกัดกระทรวงยุติธรรมดังนี้
ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศมีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่นๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัว

ที่มา www.dtl-law.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น